ข้อสอบ o-net เคมี ม.6

ให้นักเรียนโพสต์ข้อสอบ o-net เคมี PAT เคมี  หรือ สามัญเคมี           ใต้หัวข้อนี้คนละ 10 ข้อ  พร้อมเฉลยอย่างละเอียด    #ข้อสอบห้ามซ้ำกันนะคะ 

ความคิดเห็น

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. 1.ไออนของธาตุ X มีจำนวนโปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน เท่ากับ 9,10,10 ตามลำดับ ของธาตุ X มีสัญลักษณ์ไปตามข้อใด
    1. 99X
    2. 19X
    3. 2011X
    4. 2111X
    ตอบ ข้อ 1 เพราะ มีโปรตอน 9 แสดงว่าเลขข้างล่าง คือ 9 นิวตรอน 10 แสดงว่า เลขบน-เลขล่าง คือ 10

    2.สารบริสุทธิ์ของธาตุXในข้อ1มีสูตรโมเลกุลตามข้อใด
    1.F2
    2.Cl2
    3.N2
    4.O2
    ตอบข้อ 1 เมื่อจัดเรียงอิเล็กตรอนแล้วจะได้ 2 7 คือ หมู่ 7 คาบ 2 นั่นคือ F ซึ่งอยู่ในรูปของ Diatomic molecule

    3. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของธาตุ X ในข้อ1
    1.สาร X มีสถานะเป็นแก๊ส
    2.ไออนที่เสถียรของสารXมีประจุ -1
    3.ธาตุ X พบได้ในบางส่วนของร่างกายคน
    4.ธาต ุX กับธาตุ Ca เกิดเป็นสารประกอบที่มีสูตรเป็น CaX
    ตอบ ข้อ 4 เพราะ ข้อ 1 2 ถูก ฟลูออรีนอยู่ในสถานะแก๊ส ไอออนมีประจุ -1 ซึ่งเมื่อเกิดสารประกอบกับ Ca ซึ่งเป็นโลหะ

    4. ข้อความใดไม่ถูกต้อง
    1.กรดไรโบนิวคลีอิกทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน 2.คาร์โบไฮเดรตช่วยให้การเผาไหม้ไขมันเป็นไปอย่างสมบูรณ์
    3. ปฏิกิริยาการเตรียมสบู่จากน้ำมันเรียกว่า “สะปอนนิฟิเคชัน (saponnification)”
    4. โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานขั้นแรกของร่างกายโดยโปรตีน1กรัม ให้พลังงาน 4กิโลแคลอรี
    ตอบข้อ4 ข้อ1ถูกอ้างอิงจากแบบเรียนสารและสมบัติของสารหน้า 30 เรื่องกรดนิวคลีอิก
    ข้อ 2 ถูก (ไม่มีในแบบเรียนสารและสมบัติของสาร)ข้อ 3 ถูก อ้างอิงจากแบบเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 12 เรื่องประโยชน์ของไขมัน
    ข้อ 4 ผิด อ้างอิงจากแบบเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 29

    5.ข้อใดระบุชนิดของแก๊สแบะกรดที่เกิดจากการนำแก๊สนั้นไปละลายในน้ำได้ถูกต้อง
    1.อีเทน - กรดน้ำส้ม
    2.คลอรีน - กรดเกลือ
    3.ไนโตรเจน - กรดไนตริก
    4.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ - กรดซัลฟิวริก
    ตอบข้อ 2 Cl2+H2O---> HClO(กรดไฮโปคลอรัส)+HCl(กรดเกลือ/กรดไฮโดรคลอริก)
    ข้อ 1 อีเทน ไม่ละลายน้ำ
    ข้อ 4 (จริงๆควรได้กรดซัลฟิวรัสมากกว่า)

    6. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
    ก.เกลือแกงและโซดาไฟเป็นสารประกอบของโลหะหมู่lA
    ข. สารประกอบไอออนิกที่มีสถานะเป็นของแข็งสามารถนำไฟฟ้าได้
    ค. โลหะแทรกซิชันมีสมบัติทางกายภาพเหมือนโลหะหมู่ lA และ 2A
    ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    1.ก และ ข
    2.ข และ ค
    3.ก และ ค
    4.ก ข และ ค
    ตอบข้อ 3
    ก. เกลือแกง NaCl โซดาไฟ NaOH
    ข. สารประกอบไอออนิกสภาวะปกติ ไม่นำไฟฟ้า จะนำไฟฟ้าได้เมื่อหลอมเหลว หรือ ละลายเป็นสารละลาย
    ค.ธาตุเหล่านี้เรารู้จักกันว่าเป็นโลหะ เพราะมีสมบบัติทางกายภาพเหมือนโลหะ แมสมบัติทางเคมีบางประการที่แตกต่างจากโลหะในหมู่ 1A และ 2A
    อ้างอิงจากแบบเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 111 เรื่องโลหะแทรนซิชัน

    7.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมีที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม
    1.มีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมันดีเซล
    2.เป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ละลายน้ำได้
    3.มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ
    4.ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนน้อยกว่า 5 อะตอม
    ตอบข้อ 3 ข้อ 1 น้ำมันเบนซินมีจุดเดือด 250-340 องซาเซลเซียส ข้อ 2 ไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดไม่ละลายน้ำเพราะไม่มีขั้ว ข้อ 4 จำนวนคาร์บอนของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมี คือ 6-12
    ทั้งหมดอ้างอิงจาก หนังสือเรียนสารและสมบัติของสารหน้า 37 ภาพ 2.1

    8. เมื่อนำสาร A มาเผา ในบรรยากาศออกซิเจน O2(g) ได้ไอน้ำ H2O(g) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ CO2(g)
    แก๊สไฮโดรเจน
    2. แก๊สโซฮอล์
    3. แก๊สบิวเทน
    4. แก๊สธรรมชาติ
    ตอบข้อ 1 เพราะ จะเผาไหม้ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำได้ต้องเป็นสารอินทรีย์ และเกิดการเผาไหม้แบบเผาไหม้สมบูรณ์
    ปล. ข้อ 2 แก๊สโซฮอล์ คือ เอทานอล + น้ำมันเบนซิน ข้อ 4 แก๊สธรรมชาติ หมายถึง แก๊สมีเทน

    9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
    1.สบู่กำจัดไขมันได้เพราะละลายในน้ำแต่ไม่ละลายน้ำมัน
    2.การผสมยาลดกรดในกระเพาะลงในน้ำแล้วเกิดแก๊ส แสดงว่ามีปฏิกิริยาเกิดขึ้น
    3.การต้มน้ำนมจะทำให้โปรตีนแปลงสภาพ ซึ่งจะกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อเย็นลง
    4.แบตเตอรีรถยนต์ที่ใช้แผ่นตะกั่วและกรดซัลฟิวริก เมื่อใช้งานแผ่นตะกั่วจะทำหน้าที่เป็นต
    ตอบ2 เพราะเกิดแก๊ส
    ข้อ 1 สบู่ละลายได้ทั้งน้ำและไขมัน เพราะมีส่วนทั้งส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้ว
    ข้อ 3 โปรตีนเสียสภาพ กลับคืนไม่ได้
    ข้อ 4 ไม่ใช่ตัวเร่ง แต่มันเกิดปฏิกิริยาเอง (ไฟฟ้าเคมี) แบบเซลล์ทุติยภูมิ

    10.ธาตุกัมมันตรังสีธรรมชาติ X มีครึ่งชีวิตเท่ากับ5,000ปี นักธรณีวิทยาค้นพบซากของสัตว์โบราณที่มีปริมาณธาตุกัมมันตรังสี X เหลืออยู่เพียง6.25% ของปริมาณเริ่มต้น สัตว์โบราณนี้มีชีวิตโดยประมาณเมื่อกี่ปีมาแล้ว
    1.10,000ปี
    2.15,000ปี
    3.20,000ปี
    4.25,000ปี
    ตอบข้อ 3 สมมติให้ตอนแรกมี 100 จะสลายตัวดังนี้ 100--->50--->25--->12.5--->6.25 ครึ่งชีวิต 5000 ปี แสดงว่าทั้งหมดจะใช้เวลา 20,000





    ตอบลบ
  3. 1.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมีที่ได้จากหารกลั่นปิโตรเลียม
    1.มีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมันดีเซล
    2.เป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ละลายน้ำได้
    3.มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ
    4.ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนน้อยกว่า 5 อะตอม
    ตอบ ข้อ 3
    ข้อ 1 น้ำมันเบนซินมีจุดเดือด 250-340 องศาเซลเซียส
    ข้อ 2 ไฮโดรคาร์บอนทุกชนิดไม่ละลายน้ำเพราะไม่มีขั้ว
    ข้อ 4 จำนวนคาร์บอนของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมี คือ 6-12
    2.ข้อความเกี่ยวกับกรดนิวคลิอิกต่อไปนี้ ข้อใดไม่ถูกต้อง
    1.มี 2 ชนิดคือ DNA และ RNA
    2. RNA มีหน้าที่หลักในการสังเคราะห์โปรตีน
    3.หน่วยย่อยประกอบด้วยโมเลกุลน้ำตาลไนโตรเจน-เบส และหมู่ฟอสเฟส
    4.การตรวจลายพิมพ์ DNA ของบุคคลจะใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายก็ได้
    5.มีอยู่ในเซลล์ของสัตว์ชั้นต่ำไปจนถึงเซลล์ของสัตว์ชั้นสูง แต่ไม่มีในเซลล์ของพืช
    ตอบ ข้อ 5 เพราะเซลล์ของสัตว์ชั้นต่ำพบในเซลล์โพรคาริโอต ไวรัส แบคทีเรีย มี DNA ส่วนเซลล์ของสัตว์ชั้นสูงพบทั้งใน เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
    3.ไฮโดรเจนเป็นแก๊สที่เบาที่สุดใช้ทำให้บอลลูนลอยขึ้นในอากาศได้ แต่ในทางปฏิบัติจะใช้แก๊สฮีเลียมซึ่งหนักกว่า เพราะเหตุผลหลักตามข้อใด
    1.แก๊สไฮโดรเจนติดไฟได้ง่าย
    2.แก๊สไฮโดรเจนมีราคาแพงกว่าแก๊สฮีเลียม
    3.ต้องใช้แก๊สไฮโดรเจนปริมาณมากกว่าการใช้ฮีเลียม
    4.ฮีเลียมแยกได้จากธรรมชาติ แต่แก๊สไฮโดรเจนต้องผ่านกระบวนการผลิต
    ตอบ ข้อ 1
    4.ข้อใดระบุชนิดของแก๊สและกรดที่เกิดจากการนำแก๊สนั้นไปละลายในน้ำได้ถูกต้อง
    1.อีเทน – กรดน้ำมัน
    2.คลอรีน – กรดเกลือ
    3.ไนโตรเจน – กรดไนตริก
    4.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ – กรดซัลฟิวริก
    ตอบ ข้อ 2 เพราะ Cl2+H2O -----> HClO+HCl
    5.เมื่อนำสาร A มาเผาในบรรยากาศออกซิเจน O2 (g) จะได้ไอน้ำ H2O (g) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 (g)
    สาร A ในปฏิกิริยาข้างต้นไม่ใช่สารใดในข้อต่อไปนี้
    1.แก๊สไฮโดรเจน
    2.แก๊สโซฮฮล์
    3.แก๊สบิวเทน
    4.แก๊สธรรมชาติ
    ตอบ ข้อ 1 เพราะจะเผาไหม้ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำได้ต้องเป็นสารอินทรีย์ และเกิดการเผาไหม้แบบเผาไหม้สมบูรณ์
    6.ในทางการแพทย์ ไอโอดีน -131 นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อใด
    1.ตรวจการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
    2.ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
    3.รักษามะเร็ง
    4.รักษาเนื้องอกในสมอง
    ตอบ ข้อ 2 อ้างอิงจากบทเรียน สารและสมบัติของสารหน้า 117 เรื่องประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี
    7.ข้อใดที่ไม่ได้แสดงว่าธรรมชาติของสารมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
    1.เกลือเม็ดดูดความชื้นเร็วกว่าผลึกน้ำตาลทราย
    2.กระดาษมีอายุการใช้งานน้อยกว่าพลาสติก
    3.แบตเตอรี่ปรอทกับแบตเตอรี่อัลคาไลน์มีอายุใช้งานไม่เท่ากัน
    4.เหล็กที่อยู่ในอากาศและความชื้นจะผุกร่อนได้เร็วกว่าอะลูมิเนียม
    ตอบ ข้อ 1 เพราะการดูดความชื้นไม่ถือเป็นปฏิกิริยาเคมี
    8.ไอออนบวกของไฮโดรเจน (H+) ขาดอนุภาคมูลฐานข้อใด
    1.โปรตอน
    2.อิเล็กตรอน
    3.นิวตรอนและอิเล็กตรอน
    4.โปรตอนและอิเล็กตรอน
    ตอบ ข้อ 3 เพราะ H+ มีโปรตอน 1 นิวตรอน 0 อิเล็กตรอน 0
    9.ธาตุในข้อใดที่เป็นไอโซโทปกับธาตุที่มีสัญลักษณ์เป็น 115A
    1. 12 5B
    2. 12 6B
    3. 11 5B
    4. 116B
    ตอบ ข้อ 1 เพราะไอโซโทปคือ ธาตุที่มีจำนวนโปรตอนเท่ากัน
    10.ธาตุ 3 ชนิดมีสัญลักษณ์ดังนี้ 8 4A 2713B 3512C
    ข้อใดเป็นสูตรเคมีของสารประกอบฟลูออไรด์ของธาตุทั้ง 3 ชนิดตามลำดับ
    1.AF BF3 CF3
    2.AF B2F3 CF2
    3.AF2 B2F3 CF
    4.AF2 BF3 CF
    ตอบ ข้อ 4 เมื่อจัดเรียงอิเล็กตรอนแล้วจะได้ดังนี้

    A 2,2 B 2,8,3 C 2,8,7

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. นางสาวพริดา พานิจเจริญ เลขที่19
    1.ธาตุในข้อใดที่เป็นไอโซโทปกับธาตุที่มีสัญลักษณ์เป็น115A
    1. 125B
    2. 126 B
    3. 115 B
    4. 116B
    ตอบ ข้อ1 ไอโซโทป คือ ธาตุที่มีจำนวนโปรตอนเท่ากัน ส่วนข้อ3คือธาตุเดียวกับที่โจทย์ให้
    2.ธาตุ 3 ชนิดมีสัญลักษณ์ดังนี้ 84A 2713B 3517C
    ข้อใดเป็นสูตรเคมีของสารประกอบฟลูออไรด์ของธาตุทั้ง3ชนิดตามลำดับ
    1.AF BF3 CF2
    2.AF B2F3 CF2
    3.AF2 B2F3 CF
    4.AF2 BF3 CF
    ตอบ ข้อ4 เมื่อจัดเรียงอิเล็กตรอนแล้วจะได้ดังนี้
    A 2,2 B 2,8,3 C 2,8,7
    3. ในทางการแพทย์ ไอโอดีน-131 นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อใด
    1.ตรวจการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
    2.ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
    3.รักษาโรคมะเร็ง
    4.รักษาเนื้องอกในสมอง
    ตอบข้อ 2 อ้างอิงจากแบบเรียนสารและสมบัติของสารหน้า 117 เรื่องประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี
    4. ข้อใดที่ไม่ได้แสดงว่าธรรมชาติของสารมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
    1.เกลือเม็ดดูดความชื้นเร็วกว่าผลึกน้ำตาลทราย
    2.กระดาษมีอายุการใช้งานน้อยกว่าพลาสติก
    3.แบตเตอรีปรอท กับแบตเตอรีอัลคาไลน์มีอายุการใช้งานไม่เท่ากัน
    4.เหล็กที่อยู่ในอากาศและความชื้นจะผุกร่อนได้เร็วกว่าอะลูมิเนียม
    ตอบ ข้อ1 เพราะการดูดความชื้นไม่ถือว่าเป็นปฏิกิริยา ข้อ2ก็ตอบได้เพราะกระดาษที่ใช้งานไม่ได้คือกระดาษขาดไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีส่วนพลาสติกเกิดปฏิกิริยาเคมี เพราะเกิดการขาดออกของสายโซ่ เป็นต้น
    5.ไอออนบวกของไฮโดรเจน(H+)ขาดอนุภาคมูลฐานข้อใด
    1.โปรตอน
    2.อิเล็กตรอน
    3.นิวตรอนและอิเล็กตรอน
    4.โปรตอน และอิเล็กตรอน
    ตอบ ข้อ3H+ มีโปรตอน1นิวตรอน0อิเล็กตรอน0
    6. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
    ก.11H มีจำนวนโปรตอนเท่ากับ 21D
    ข.3115Pมีจำนวนนิวตรอนน้อยกว่า 3216S
    ค.168O-2มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับ 199F-
    ง.2713Alมีจำนวนอนุภาคมูลฐานทั้งหมด 27 ตัว
    ข้อใดอธิบายสัญลักษณ์นิวเคลียได้ถูกต้อง
    1. ก และ ข
    2. ก และ ค
    3. ข และ ง
    4. ค และ ง
    ตอบข้อที่2 ก.ถูกเพราะHมีจำนวนโปรตอนคือ 1 Dมีจำนวนโปรตอน1ดังนั้นจึงมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน ข.ผิดเพราะPมีจำนวนนิวตรอน16 Sมีจำนวนนิวตรอน16 จึงมีนิวตรอนเท่ากัน ค.ถูก Oมีอิเล็กตรอน10 Fมีอิเล็กตรอน10 ดังนั้นOจึงมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับF ง.ผิด มีอนุภาคมูลฐานทั้งหมดคือ p=13 N=14 e=13 รวมกันได้40
    7.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
    1.ธาตุที่มีอิเล็กตรอน36ตัว จัดเป็นแก๊สเฉื่อย
    2.ธาตุที่มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 18 7 จัดเป็นธาตุ แฮโลเจน
    3.น้ำจัดเป็นสารไอออนิก เพราะแตกตัวได้ H+ ที่มีประจุบวกกับOH ที่มีประจุลบ
    4.ธาตุที่มีอิเล็กตรอน 12 ตัว เกิดเป็นสารประกอบไอออนิกได้โดยเสียอิเล็กตรอน 2ตัว
    ตอบ ข้อ3 1.ถูกแก๊สเฉื่อยหมู่8 ธาตุที่มีอิเล็กตรอน36จัดได้ 2 8 18 8 อยู่ในหมู่8 จัดเป็นแก๊สเฉื่อย 2.ถูก ธาตุแฮโลเจน คือหมู่7 3.ผิด H2Oคือโควาเลนตที่มีขั้ว ธาตุที่เป็นสารไอออนิกไม่จำเป็นต้องแตกตัวได้
    8.ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
    1.ธาตุ 6X เมื่อเกิดเป็นสารประกอบคลอไรด์จะมีสูตรเคมีเป็น XCl3
    2.ธาตุ 11X ทำปฏิกิริยากับน้ำให้สารประกอบไฮดรอกไซด์และแก๊สไฮโดรเจน
    3.ธาตุ 12Xเมื่อเกิดเป็นสารประกอบไฮไดรด์จะมีสูตรเคมีเป็น XH
    4.สารประกอบออกไซด์ของธาตุ 16X เมื่อละลายในน้ำจะมีสมบัติเป็นเบส
    ตอบข้อ2 1.ผิด X3+หมู่ 3 6X : 2 4 อยู่หมู่4จึงผิด 2.11X : 2 8 1 เมื่อสารหมู่1เมื่อใส่ลงน้ำทำปฏิกิริยากับน้ำให้สารประกอบไฮดรอกไซด์และแก๊สไฮโดรเจน 3.ผิด ต้องเป็นHX2 4.ผิด 16Xอยู่หมู่6 เป็นอโลหะ มีสมบัติคือกรด
    9.สารประกอบทุกตัวในข้อใดที่มีองค์ประกอบของธาตุกึ่งโลหะ
    1.แก้ว สารส้ม
    2.น้ำตาลทราย บอแรกซ์
    3.คอรันดัม ดินประสิว
    4.เกลือแกง เกลืออนามัย
    ตอบข้อ1 1.ถูกแก้ว : SiO2 Siคือกึ่งโลหะ. สารส้ม : KAl(SO4)2 Alตำราบางเล่มบอกเป็นกึ่งโลหะบางเล่มบอกไม่เป็น 2.ผิด น้ำตาลทราย : C12H22O11ไม่เป็นกึ่งโลหะ บอแรกซ:์ Na2B4O7 Bเป็นโลหะ 3.ผิด คอรันดัม : Al2O3 . Al ตำราบางเล่มบอกเป็นกึ่งโลหะบางเล่มบอกไม่เป็น ดินประสิว : KNO3 ไม่มีกึ่งโลหะ4ผิด.เกลือแกง:NaClไม่มีกึ่งโลหะ เกลืออนามัย : KI หรือKIO3ไม่มีกึ่งโลหะ
    10.จงพิจารณาข้อความต่อไปนี้
    ก.การใช้น้ำยาที่มี pH = 4 ขัดพื้นหินอ่อนจะทำให้พื้นผิวมีความมันวาว
    ข.การใส่แคลแซมไฮโปคลอไรด์ Ca(Cl)2ในน้ำจะทำให้เกิด Cl2ที่ฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้
    ค.แบตเตอรีรถยนใช้โลหะตะกั่วเป็นขั้วลบและใช้ตะกั่วออกไซด์เป็นขั้วบวกโดยโลหะตะกั่วเป็นตัวให้อิเล็กตรอน
    ง.ผงโซเดียมแอซิเตทใช้ดับเพลิงได้เพราะเมื่อได้รับความร้อนจะให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
    ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
    1.กและค
    2.กและง
    3.ขและค
    4.คและง
    ตอบข้อ3 ขและค ก.ผิดpH=4คืิอกรดเมื่อทำปฏิกิริยากับหินอ่อนจะทำให้ได้ขรุขระ ข.ถูกตามโจทย์ไม่มีคำอธิบาย ค.ถูกเพราะโลหะตะกั่วเป็นขั้วลบ(แอโนด)ใช้ตะกั่วออกไซด์เป็นขั้วบวก(แคโทด)แอโนดจะเกิดปฏิกิริยาออกซเดชันคือให้อิเล็กตรอน ง.ผงโซเดียมแอซิเตท : CH,COONaเมื่อได้รับความร้อนจะไม่ให้ CO2

    ตอบลบ
  6. นางสาวธันยพร รุ่งพนารัตน์ ม.6/1เลขที่18
    1.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับโปรตีน
    ก.มีมวลโมเลกุลสูง
    ข.เป็นโฮโมพอลิเมอร์
    ค.ยึดเป็นก้อนด้วยพันธะเพปไทด์
    ง.ประกอบด้วยธาตุC H O และ Nเท่านั้น
    ตอบ ก.เพราะ โปรตีนเป็นสารที่มีมวลโมเลกุลสูง ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์
    2.ส่วนผสมของน้ำสลัดโดยทั่วไปจะมีน้ำมันพืช น้ำส้มสายชู ไข่แดง และเครื่องปรุงรส สารใดในสาวนประกอบดังกล่าวนี้ทำให้ส่วนผสมของน้ำสลัดผสมเข้ากันได้ดี
    ก.โปรตีน
    ข.กรดน้ำส้ม
    ค.ฟอสโฟลิพิด
    ง.คอเลสเทอรอท
    ตอบ ค.เพราะ ในไข่แดงมีฟอสโฟลิพิดที่สำคัญ คือ ฟอสฟาทิดิลคอรีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในเลฃิทิน
    อิมัลซิฟายเออร์ที่ดี ทำให้ส่วนผสมที่เป็นน้ำและไขมันสามารถละลายเข้ากันได้
    3.ข้อใดไม่ใช่มอนอเมอร์ของยาง
    ก.สไตรีน
    ข.นีโอพรีน
    ค.คลอโรพรีน
    ง.บิวทาไดอีน
    ตอบ ข. เพราะ ยางที่ใช้กันโดยทั่วไปมีทั้งยางธรรมชาติซึ่งเป็นพอลิไอโซพรีนและยางสังเคราะห์ เช่น ยางพอลิบิวทาไดอีนซึ่งได้จากบิวทาไดอีน ยางพอลิคลอโรพรีนซึ่งได้จากคลอโรพรีน และยางเอสบีซึ่งได้จากบิวทาไดอีนกับสไตรีน ส่วนนีโอพรีนเป็นชื่อของยางพอลิคลอโรพรีน ไม่ใช่มอนอเมอร์
    4.ข้อใดเป็นตัวอย่างของผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมปิโตเคมีขั้นต้น
    ก.โพรเพน อีเทน
    ข.โพรพิลีน เอทิลีน
    ค.เบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์
    ง.เรยอน เซลลูโลสแอซีเตต
    ตอบ ข. เพราะ ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น ได้แก่ เอทิลีน โพรพิลีน เบนซีน โทลูอีน และไซลีน
    5.พอลิเมอร์ในข้อใดเป็นพอลิเมอร์ที่เตรียมได้จากปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติมทุกชนิด
    ก.พอลิเอทิลีน พอลิยูริเทน พอลิคาร์บอเนต
    ข.ไนลอน-6,10 พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิยูริเทน
    ค.พอลิอะคริโลไนไตรล์ พอลิสไตรีน พอลิไวนิลคลอไรด์
    ง.พอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน พอลิเอไมด์ ไนลอน-6,6
    ตอบ ค. เพราะ ปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติม เกิดกับมอนอเมอร์ที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน โดยปฏิกิริยาจะเกิดที่บริเวณพันธะคู่ ทำให้ให้ได้พอลิเมอร์เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีสารโมเลกุลเล็กเกิดขึ้น
    6.การป้องกันการกัดกร่อนของเหล็กวิธีใดไม่ถูกต้อง
    ก.นำเหล็กไปรมคำ
    ข.ทาเหล็กด้วยเกลือโครเมต
    ค.ชุบเคลือบเหล็กด้วยสังกะสี
    ง.ต่อเหล็กกับขั้วบวกของแบตเตอรี่
    ตอบ ง. เพราะ การทำแคโทดิกโดยวิธีการจ่ายกระแสไฟฟ้า ทำได็โดยต่อโลหะเข้ากับขั้วลบของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง เพื่อจ่ายอิเล็กตรอนให้กับโลหะ หากต่อโลหะเข้ากับขั้วบวกจะยิ่งเร่งให้โลหะถูกกัดกร่อนเร็วขึ้น
    7.การผลิตNaOHโดยวิธีใดที่ได้สารละลายNaOHที่มีNaClเจือปน
    ก.วิธีโซลเวย์
    ข.วิธีคอสติก
    ค.เซลล์ปรอท
    ง.เซลล์ไดอะแฟรม
    ตอบ ง. เพราะ การผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ด้วยเซลล์ไดอะแฟรมมีโครงสร้างคล้ายเซลล์แลกเปลี่ยนไอออน แต่แผงกั้นระหว่างส่วนแอโนดและส่วนแคโนดในเซลล์ไดอะแฟรมผลิตจากแอสเบสตอสซึ่งสามารถผ่านได้ทั้งไอออนบวกและไอออนลบ ทำให้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ผลิตได้มีโซเดียมคลอไรด์ปนอยู่ด้วยในปริมาณมาก
    8.ไฮโดรคาร์บอนประเภทเดียวกัน เมื่อจำนวนอะตอมของคาร์บอนเพิ่มขึ้น สถานะของไฮโดรคาร์บอนจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
    ก.แก๊ส ของเหลว ของแข็ง
    ข.ของเหลว แก๊ส ของเหลว
    ค.ของเหลว ของแข็ง แก๊ส
    ง.ของแข็ง แก๊ส ของเหลว
    ตอบ ก. เพราะ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนอะตอมของคาร์บอนเพิ่มขึ้นจะมีขนาดโมเลกุลใหญ่ขึ้น ส่งผลให้แรงลอนดอนซึ่งแปรตามขนาดโมเลกุลของสารเพิ่มขึ้นไปด้วย เมื่อเเรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของสารเพิ่มขึ้น จึงทำให้โมเลกุลอยู่ใกล้ชิดกัน สารจึงเปลี่ยนสถานะจากแก๊ส กลายไปเป็นของเหลว และของแข็ง ตามลำดับ
    9.สารชีวโมเลกุลชนิดใดต่อไปนี้เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากมอนอเมอร์ชนิดเดียว
    ก.ไกลโคเจน
    ข.คอลลาเจน
    ค.ไตรสเตียริน
    ง.กรดนิวคลีอิก
    ตอบ ก. เพราะ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยพอลิเมอร์เอกพันธ์โดยมีมอนอเมอร์ คือ กลูโคส คล้ายกับส่วนที่เป็นอะไมโลเพกตินของแป้ง แต่มีมวลโมเลกุลและโซ่กิ่งมากกว่า
    10.เลซิทินเป็นฟอสโฟลิพิดที่ทำหน้าที่ช่วยละลายไขมันในกระแสเลือดในแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆการทำหน้าที่ของเลซิทินคล้ายคลึงกับสมบัติของสารใด
    ก.กรดนิวคลีอิก
    ข.เพนโทส
    ค.เอนไซม์
    ง.สบู่
    ตอบ ง. เพราะ เลซิทิน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ฟอสฟาทิดิลคอลีน ซึ่งเป็นฟอสโฟลิพิดที่สำคัญชนิดหนึ่ง พบมากในไข่แดง ถั่วเหลือง นม เมล็ดฝ้าย และเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น มีสมบัติเป็นสารอิมัลซิฟายเออร์ที่ดี คล้ายสบู่ จึงสามารถละลายคอเลสเทอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมัน
    ชนิดอื่นๆ ในหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดลงได้

    ตอบลบ
  7. 1.ไขมันและน้ำมันเป็นสารประกอบประเภทใด
    1.กรดไขมัน
    2.แอลกอฮอล์
    3.เอสเทอร์
    4. อีเทอร์
    เฉลย ข้อ3 เพราะในไขมันหรือน้ำมันมีหมู่แอลคอกซีคาร์บอนิล

    2.เมื่อรับประทานไขมันเข้าไป ในขั้นแรกร่างกายจะต้องใช้เอนไซม์ช่วยย่อยสลายเสียก่อน จึงจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้ ปฏิกิริยาย่อยสลายนี้ควรจัดเป็นประเภทใด
    1.ออกซิเดชัน
    2.สะปอนนิฟิเคชัน
    3.เอสเทอร์ฟิเคชัน
    4.ไฮโดรลิซิส
    เฉลย ข้อ4. ปฏิกิริยาการย่อยสลายไขมันหรือน้ำมันกลายเป็นกลีเซอรอลกับกรดไขมันโดยมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเรียกว่า ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิส

    3.ถ้าA, B, C และD เป็นธาตุอยู่ในหมู่เดียวกัน มีมวล6,22,39,85 ตามลำดับ สารในข้อใด ที่มีความเป็นเบสมากที่สุด
    1.AOH
    2.BOH
    3.COH
    4.DOH
    เฉลย ข้อ4. ในหมู่เดียวกันในตารางธาตุไฮดรอกไซด์ของโลหะจะมีความเป็นเบสเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง

    4.ลำดับของความเป็นเบสจากน้อยไปหามากของสารละลายต่อไปนี้ถูกต้อง คือ
    1.น้ำมะนาว<สารละลายเกลือแกง=น้ำบริสุทธิ์<น้ำปูนใส
    2.น้ำปูนใส<น้ำบริสุทธิ์=สารละลายเกลือแกง<น้ำมะนาว
    3.น้ำบริสุทธิ์<สารละลายเกลือแกง<น้ำมะนาว<น้ำปูนใส
    4.น้ำมะนาว<น้ำบริสุทธิ์<สารละลายเกลือแกง<น้ำปูนใส
    เฉลย ข้อ1. น้ำปูนใสมีสมบัติเป็นเบส สารละลายเกลือแกงและน้ำบริสุทธิ์เป็นกลาง ส่วนน้ำมะนาวเป็นกรด ตัวเลือก1จึงถูก

    5.ถ้าอินดิเคเตอร์ชนิดหนึ่งมีสีน้ำเงินในสารละลายเบส และมีสีเหลืองในสารละลายกรด เมื่อให้HIn เป็นสูตรของอินดอเคเตอร์นั้น HIn จะมีสีอะไร
    1.เหลือง
    2.น้ำเงิน
    3.เขียว
    4.ไม่มีสี
    เฉลย ข้อ1. ในสารละลายเบส สมดุลเลื่อนไปทางขวาได้สีน้ำเงินซึ่งเป็นสีของIn ในสารละลายกรดสมดุลเลื่อนไปทางซ้ายได้สีเหลืองซึ่งเป็นสีของHIn

    6.จากสารต่อไปนี้ สารในข้อใดบ้างที่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสแดงเป็นสีน้ำเงิน
    1.น้ำมะนาว 2.น้ำยาล้างจาน 3.แอสไพริน
    4.น้ำขี้เถ้า 5.น้ำย่อยในกระเพาะ 6.เลือด
    7.น้ำอัดลม
    1.1,3,56
    2.2,4,6
    3.1,3,5,7
    4.4,2
    เฉลย ข้อ2. เพราะน้ำยาล้างกระจก น้ำขี้เถ้า และเลือดมีpH มากกว่า7 หรือมีสมบัติเป็นเบส

    7. แร่รัตนชาติใดมีความเเข็งมากที่สุด
    1.มรกต
    2.โกเมน
    3.ไพลิน
    4.เพทาย
    เฉลย ข้อ 3.เพราะไพลินเป็นพลอยประเภทคอรันดัม มีความแข็งอันดับ 2 รองจากเพชร

    8.ข้อใดไม่ใช่อุตสาหกรรมเซรามิกส์
    1.อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์
    2.อุตสาหกรรมซีเมนต์
    3.อุตสาหกรรมแก้ว
    4.ไม่มีข้อใดถูก
    เฉลย ข้อ 4. ทุกข้อคืออุตสาหกรรมเซรามิกส์

    9.เกลือแกงเป็นวัตถุดิบที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทใดมากที่สุด
    1.โรงงานผงชูรส
    2.โรงงานโซดาไฟ
    3.โรงงานน้ำตาล
    4.โรงงานผงซักฟอก
    เฉลย ข้อ2. เพราะโซดาไฟหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์(NaOH) ได้จากการอิเล็กโทรลิซิสสารละลายNaCl(เกลือแกง)เข้มข้น

    10.การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากเกินไป จะทำให้ดินเสียหรือเรียกว่าดินเปรี้ยว ปุ๋ยประเภทนี้ ได้แก่
    1.ปุ๋ยยูเรีย
    2.ปุ๋ยแอมโมเนีย
    3.ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
    4.ปุ๋ยโพแทสเซียม
    เฉลย ข้อ3. เพราะแอมโมเนียมซัลเฟต มีสมบัติเป็นกรดอ่อน

    ตอบลบ
  8. 1.ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    1.สบู่ กำจัดไขมันเพราะละลายในน้ำแต่ไม่ละลายในน้ำมัน
    2. การผสมยาลดกรดในกระเพาะลงในน้ำแล้วเกิดแก๊ส แสดงว่าปฏิกิริยาเกิดขึ้น
    3.การต้มน้ำนมจะทำให้โปรตีนแปลงสภาพ ซึ่งจะกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อเย็นตัวลง
    4.แบตเตอรีรถยนต์ที่ใช่แผ่นตะกั่วและกรดซัลฟิวริก เมื่อใช้งานแผ่นตะกั่วจะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพราะเมื่อใช้งานเสร็จแล้วแผ่นตะกั่วไม่เปลี่ยนแปลง
    ตอบข้อ2. เพราะเกิดแก๊ส

    2.สารบริสุทธ์ของธาตุx ในข้อที่ 1 มีสูตรโมเลกุลตามข้อใด
    1.F_2 2.〖Cl〗_2
    3.N_2 4.O_2
    ตอบข้อ 1. เพราะเมื่อจัดเรียงอิเล็กตรอนแล้วจะได้ 2 7 คือ หมู่ 7 คาบ 2 นั่นคือ F ซึ่งอยู่ในรูปของ Diatomic molecule

    3.ข้อความใดไม่ถูกต้อง
    1. กรดไรโบนิวคลีอิกทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน
    2. คาร์โบไฮเดรตช่วยให้การเผาไหม้ไขมันเป็นไปอย่างสมบูรณ์
    3.ปฏิกิริยาการเตรียมสบู่จากน้ำมันเรียกว่า “สะปอนนิฟเคชัน”
    4. โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานขั้นตอนแรกของร่างกายโดยโปรตีน 1กรัม ให้พลังงาน 4กิโลแคลอรี
    ตอบข้อ4.โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานขั้นตอนแรกของร่างกายโดยโปรตีน 1กรัม ให้พลังงาน 4กิโลแคลอรี




    4.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมีที่ได้จากการกลั่นปิโตเลียม
    1.มีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมันดีเซล
    2.เป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ละลายน้ำได้
    3.มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ
    4.ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนน้อยกว่า5อะตอม
    ตอบข้อ3.มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ
    ข้อ1.น้ำมันเบนซินมีจุดเดือด 250-340 องศา
    ข้อ2.ไฮโดรคาร์บอนของตัวทำละลายไม่ละลายน้ำเพราะไม่มีขั้ว


    5.ข้อใดระบุชนิดของแก๊สและกรดที่เกิดจากการนำแก๊สนั้นไปละลายในน้ำได้ถูกต้อง
    1.อีเทน-กรดน้ำส้ม
    2.ครอรีน-กรดเกลือ
    3.ไนโตรเจน- กรดไนตริก
    4.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์-กรดซัลฟิวริก
    ตอบข้อ 2.ครอรีน-กรดเกลือ ข้อ1 อีเทน ไม่ละลายน้ำ

    6.ธาตุกัมมันตรังสีธรรมชาติxมีครึ่งชีวิต 5,000ปี นักธรณีวิทยาค้นพบซากของสัตว์โบราณที่มีปริมาณธาตุกัมมันตรังสีx เหลืออยู่เพียง 6.25% ของปริมาณเริ่มต้น สัตว์โบราณนี้มีชีวิตโดยประมาณเมื่อกี่ปีมาแล้ว
    1. 10,000 ปี 2. 15,000 ปี
    3. 20,000 ปี 4. 25,000 ปี
    ตอบข้อ3. สมมติให้ตอนแรกมี100 จะสลายตัวดังนี้ 100-50-25-12.6-6.25 ครึ่งชีวิต5,000 ปี แสดงว่าทั้งหมดจะใช้เวลา 20,000 ปี
    7.ในทางการแพทย์ ไอโอดีน-131 นำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อใด
    1. ตรวจการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
    2. ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
    3. รักษาโรคมะเร็ง
    4. รักษาเนื้องาในสมอง
    ตอบข้อ2. ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์


    8.ข้อใดที่ไม่ได้แสดงว่าธรรมชาติของสารเคมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
    1.เกลือเม็ดดูดความชื้นเร็วกว่าน้ำตาลทราย
    2.กระดาษมีอายุการใช้งานน้อยกว่าพลาสติก
    3.แบตเตอรีปรอท กับแบตเตอรีอัลคาไลน์มีอายุใช้งานไม่เท่ากัน
    4.เหล็กที่อยู่ในอากาศและความชื้นจะผุร่อนได้เร็วกว่าอะลูมิเนียม
    ตอบข้อ1. เพราะการดูดความชื้นไม่ถือเป็นปฏิริกิยาเคมี


    9.ไอออนบวกของไฮโดรเจน ขาดอนุภาคมูลฐานข้อใด
    1.โปรตอน
    2.อิเล็กตรอน
    3.นิวตรอนและอิเล็กตรอน
    4.โปรตอนและอิเล็กตรอน
    ตอบข้อ3. H+ มีโปรตอน 1 นิวตรอน 0 อิเล็กตรอน 0
    10.เมื่อนำสารAมาเผาในบรรยากาศออกซิเจน จะได้ไอน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
    สาร A ในปฏิกิริยาข้างต้นไม่ใช่สารใดในข้อต่อไปนี้
    1.แก๊สไฮโดรเจน
    2.แก๊สโซฮอล์
    3.แก๊สบิวเทน
    4.แก๊สธรรมชาติ
    ตอบข้อ1. เพราะ จะเผาไหม้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำได้ต้องเป็นสารอินทรีย์และเกิดการเผาไหม้แบบเผาไหม้สมบูรณ์

    ตอบลบ
  9. ดีมากค่ะ แต่เช็ค ช้อยช้อสอง กับ เฉลยข้อ 6 ในเรื่องการพิมพ์อีกนิดนึงนะคะ มันคืออะไรเอ่ย ลองแก่นิดนึงจ้ม

    ตอบลบ
  10. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 1.สารชนิด A เมื่อหยดสารละลายเบเนดิกต์ลงไป แล้วเกิดตะกอนสีแดงอิฐ สารชนิด B เมื่อหยดสารละลายทิงเจอร์ไอโอดีนลงไป แล้วเกิดสีน้ำเงิน ข้อใดผิด
      ก.A คือ มอโนแซ็กคาไรด์
      ข.B สามารถย่อยสลายด้วยเอมไซม์อะไมเลสแล้วจะได้น้ำตาลแลกโตส
      ค.เมื่อนำ A ไปหมักด้วยยีสต์ จะได้เอทิลแอลกอฮอล์
      ง.B เมื่อถูกความร้อนจะสลายเป็นเด็กซ์ตริน มีสมบัติเหนียวแบบกาว
      ตอบ ข เพราะ เอมไซม์อะไมเลสย่อยน้ำตาลเป็นกลูโคส
      2.ข้อใดเป็นพอลิเมอร์ทั้งหมด
      ก.แป้ง เซลลูโลส น้ำตาล
      ข.โปรตีน พอลิเอทิลีน ยางพารา
      ค.ไขมัน เตตระฟลูออโรเอทิลีน ไวนิลคอลไรด์
      ง.ไกลโคเจน ซิลิโคน กลูโคส
      ตอบ ข เพราะที่เหลือไม่ใช่พอลิเมอร์
      3.พลาสติกชนิดใดไม่ใช่เทอร์โมพลาสติก
      ก.A เป็นพลาสติกที่เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว
      ข.B เป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
      ค.C เป็นพลาสติกที่สมบัติไม่เปลี่ยนแปลง
      ง.D เป็นพลาสติกที่มีโครงสร้างแบบตาข่ายหรือร่างแห
      ตอบ ง เพราะ เทอร์โมพลาสติกมีโครงสร้างแบบสายยาวหรือแบบสาขาสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
      4.พิจารณาข้อความเกี่ยวกับยางต่อไปนี้ ข้อใดถูก ก. ยาง เกิดจากมอนอเมอร์ของธาตุซิลิคอน ข. ยางธรรมชาติ ทนต่อน้ำมันเบนซินและตัวละลายอินทรีย์ ค. การปรับปรุงคุณภาพยางธรรมชาติให้ดีขึ้น โดยนำมาคลุกกับกำมะถัน ง. ยาง SBR เกิดจากมอนอเมอร์ของสไตรีนและบิวทาไดอีน
      ก.ก ข
      ข.ข ค
      ค.ค ง
      ง.ก ง
      ตอบ ค
      5.จากปฏิกิริยาต่อไปนี้ สาร A ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก เกิดแก๊สไฮโดรเจน สาร B ไม่ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก สาร A ที่มีสาร B พันอยู่ ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริกได้เร็วมากและมีฟองแก๊สไฮโดรเจนเกิดขึ้นปริมาณมาก สารชนิดใดทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
      ก.สาร A
      ข.สาร B
      ค.กรดไฮโดรคลอริก
      ง.แก๊สไฮโดรเจน
      ตอบ ข เพราะ สาร A ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก เกิดฟองแก๊ส แต่สาร B ไม่ทำปฏิกิริยากับกรอไฮโดรคลอริก แต่เมื่อสาร A พันอยู่กับสาร B ทำให้เกิดฟองมากขึ้น ดังนั่น สารที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาก็คือ สาร B เพราะตอนที่สาร B ไม่รวมกับ A ไม่เกิดปฏิกิริยาใด ๆ แต่พอรวมแล้วทำให้เกิดปฏิกิริยา และที่สำคัญทำให้เกิดเร็วและมากขึ้นอีกด้วย
      6.ธาตุชนิดหนึ่ง มีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมีมาก เกิดสารประกอบกับโลหะ เป็นโลหะเฮไลด์ สามารถรับอิเล็กตรอนได้อีก1 อนุภาค ธาตุนี้น่าจะเป็นธาตุใด
      ก.โซเดียม
      ข.ฮีเลียม
      ค.อะลูมิเนียม
      ง.คลอรีน
      ตอบ ง เพราะ คลอรีนเป็นธาตุโลหะมีทั้งสามสถานะ สมบัติส่วนใหญ่จะตรงข้ามกับอโลหะ เช่น ผิวไม่มันวาว ไม่นำไฟฟ้า ไม่นำความร้อน จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ
      7.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับตารางธาตุ
      ก.ตารางธาตุในปัจจุบันเรียงตามน้ำหนักอะตอม ตามหลักของดิมิทรีอิวาโนวิช เมนเดเลเอฟ
      ข.ธาตุในหมู่ 1A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
      ค.ธาตุแทรนซิชัน เป็นกึ่งโลหะ
      ง.พันธะโคเวเลนซ์ เกิดจากการให้และรับอิเล็กตรอนระหว่างอะตอม
      ตอบ ข เพราะ ตามตารางธาตุแล้วธาตุในหมู่ 1A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ1 ถูกต้องแล้ว
      8. กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับทารกคือข้อใด
      ก.อาร์จินีน และฮีสติดีน
      ข.ทริปโตเฟนและเมไทโอนีน
      ค.ไลซีนและลิวซีน
      ง.ไอโซลิวซีนและเวลีน
      ตอบ ก เพราะ อาร์จินีน มีความสำคัญต่อการทำงานของต่อมใต้สมอง และยังช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นการทำงานของจชต่อมไทมัสซึ่งเป็นศูนย์กลางของเม็ดเลือดขาวที่เซลล์มีหน้าที่ต่อสู้กับโรคติดต่อ และ ฮีสติดีน คือกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับวัยเด็ก แต่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ เด็กจึงต้องรับจากการรับประทานอาหาร พบมากในอาหารทะเล
      9.ข้อใดไม่ถูกต้อง
      ก.กรดไลโนเลอิก เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
      ข.ถ้าเด็กทารกขาดกรดไลโนเลนิก จะมีผิวหนังแห้ง อักเสบ หลุดลอก
      ค.ไขมันเมื่อต้มกับเบสจะเกิดปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน
      ง.คอเลสเทอรอลไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เส้นเลือดอุดตัน
      ตอบ ง เพราะ คอลเลสเตอรอลมีประโยชน์ต่อร่างกายคนเรามาก เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้
      10.ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ( DNA)
      ก.น้ำตาลไรโบส
      ข.อะดีนีน
      ค.หมู่ฟอสเฟต
      ง.กรดไรโบนิวคลิอิก (RNA)
      ตอบ ง เพราะ DNA เป็นกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นหนึ่งในสารชีวโมเลกุลหลักร่วมกับลิพิดคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน(RNAไม่ใช่องค์ประกอบของDNA)

      ลบ
  11. 1.ประชาชนที่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรมไม่ควรเก็บน้ำฝนไว้เพื่อการบริโภคเพราะเหตุใด
    1. มีฝุ่นละอองมากไม่เหมาะกับการบริโภค
    2. มีตะกรันมากใช้บริโภคอาจเป็นโรคนิ่วได้
    3. มีกรดคาร์บอนิกและกรดไอโดรคลอนิกปนอยู่
    4.มีกรดกำมะถันและกรดไนตริกปนอยู่
    ตอบ 4

    2.ข้อใดเป็นการจัดตัวของอิเล็กตรอนในอะตอมที่มีเลขมวล 40 และมีจำนวนนิวตรอนเท่ากับ 21
    1. 2,8,9
    2. 2,8,8,1
    3. 2,8,18,8,4
    4. 2,8,9,2
    ตอบ 2

    3.พิจารณาข้อมูลต่อไปนี้
    ธาตุ A B C D
    เลขอะตอม 11 18 31 38
    ข้อใดถูก
    1. A และ D อยู่หมู่เดียวกัน
    2. D มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนสูงสุด
    3. B อยู่เป็นอะตอมเดียวอย่างอิสระได้
    4. C และ D อยู่ในคาบเดียวกัน
    ตอบ 3

    4.เมื่อนำธาตุ X มาทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจน พบว่าให้ผลิตภัณฑ์ Y ซึ่งละลายน้ำได้เล็กน้อย และสารละลายเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน ถ้าปล่อยธาตุ X ทิ้งไว้ในอากาศที่อุณหภูมิห้อง จะไม่เกิดการลุกไหม้
    ข้อสรุปใดถูก
    1. X เป็นโลหะ และออกไซด์ของ X มีสมบัติเป็นกรด
    2. X เป็นธาตุในหมู่ 2A
    3. Y มีสูตร X2O
    4. เกลือแกง และผงฝู มีธาตุ X เป็นองค์ประกอบ
    ตอบ 2

    5.ข้อความใดไม่ถูกต้อง
    1. กรดไรโบนิวคลีอิกทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีน
    2. คาร์โบไฮเดรตช่วยให้การเผาไหม้ไขมันเป็นไปอย่างสมบรูณ์
    3. ปฏิกิริยาการเตรียมสบู่จากน้ำมันเรียกว่า สะปอนิฟิเคชัน (saponification)
    4. โปรตีนเป็นแหล่งพลังงานขั้นแรกของร่างกายโดยโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
    ตอบ 2

    6.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมีที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม
    1. มีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมันดีเซล
    2. เป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ละลายน้ำได้
    3. มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ
    4. ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนน้อยกว่า 5 อะตอม
    ตอบ 3

    7.ข้อใดไม่มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้น
    1. การเคี้ยวข้าวก่อนกลืน
    2. การฟอกสบู่ในน้ำกระด้าง
    3. การทาแล็กเกอร์เคลือบผิวไม้
    4. การผสมกลีเซอรอลกับเอทานอล
    ตอบ 4

    8. ไฮโดรเจนเป็นแก๊สที่เบาที่สุด ใช้ทำให้บอลลูนลอยตัวขึ้นในอากาศได้ แต่ในทางปฏิบัติจะใช้แก๊สฮีเลียมซึ่งหนักกว่า เพาระเหตุผลหลักตามข้อใด
    1. แก๊สไฮโดรเจนติดไฟได้ง่าย
    2. แก๊สไฮโดรเจนมีราคาแพงกว่าแก๊สฮีเลียม
    3. ต้องใช้แก๊สไฮโดรเจนปริมาณมากกว่าการใช้ฮีเลียม
    4. ฮีเลียมแยกได้จากธรรมชาติ แต่แก๊สไฮโดรเจนต้องผ่านกระบวนการผลิต
    ตอบ 1

    9. ข้อใดระบุชนิดของแก๊สและกรดที่เกิดจากการนำแก๊สนั้นไปละลายในน้ำได้ถูกต้อง
    1. อีเทน – กรดน้ำส้ม
    2. คลอรีน – กรดเกลือ
    3. ไนโตรเจน – กรดไนตริก
    4. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ – กรดซัลฟิวริก
    ตอบ 2

    10.ไอออนบวกของไฮโดรเจน H+ ขาดอนุภาคมูลฐานข้อใด
    1. โปรตีน
    2. อิเล็กตรอน
    3. นิวตรอน และ อิเล็กตรอน
    4. โปรตอน และ อิเล็กตรอน
    ตอบ 3

    ตอบลบ
  12. นางสาวโสรญา บัวโรย เลขที่ 15 ม.6/1

    1.ข้อใดเกิดปฎิกิริยาเคมี
    ก.การทำทิงเจอร์ไอโอดีนโดยผสมไอโอดีนกับเอทานอล
    ข.การเหม็นหืนของน้ำมันเมื่อทิ้งไว้นานๆ
    ค.การผลิตน้ำอัดลมและน้ำโซดา
    ง.บ่มมะม่วงดิบจนเป็นมะม่วงสุก
    ตอบ 2

    2.ธาตุที่มีเลขอะตอมต่อไปนี้ มีสิ่งใดเหมือนกัน
    1 3 11 19 37
    1. เป็นโลหะเหมือนกัน
    2. มีจำนวนอนุภาคมูลฐานเท่ากัน
    3. อยู่ในระดับพลังงานเดียวกัน
    4. มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
    ตอบ 4

    3.ถ้านำสารประกอบต่อไปนี้มาละลายน้ำ สารละลายข้อใดไม่มีสี
    1. KMnO4
    2.K2Cr2O7
    3. MgSO4
    4. ( K4Fe(CN)6)
    ตอบ 3

    4.พิจารณาข้อความต่อไปนี้
    ก. แก๊สโซฮอล์เป็นสารผสมระหว่างเอทานอลและน้ำมันเบนซิน
    ข. แก๊สหุงต้มหรือLPG เป็นแก๊สผสมระหว่างโพรเพนและบิวเทน
    ค. แก๊สธรรมชาติจัดเป็นพลังงานสะอาดเพราะสามารถเกิดการเผาไหม้ได้สมบรูณ์
    ข้อใดถูกต้อง
    1.ก และ ข เท่านั้น
    2. ก และ ค เท่านั้น
    3.ข และ ค เท่านั้น
    4.ทั้ง ก ข และ ค
    ตอบ 4 ทั้ง ขอ ก. , ขอ ข. และขอ ค. ถูกตองตามขอมูล

    5.ข้อใดเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติทั้งหมด
    1. แป้ง เซลลูโลส พอลิสไตรีน
    2.โปรตีน พอลิไอโซพรีน กรดนิวคลิอิก
    3.ยางพารา พอลิเอทิลีน เทฟลอน
    4. ไกลโคเจน ไขมัน ซิลิโคน
    ตอบ 2

    6.มีคำแนะนำให้รับประทานผักบุ้ง และเต้าหู้ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ถ้าอาหารกลางวันมื้อหนึ่งรับประทานข้าวกับผักบุ้งผัดน้ำมัน และแกงจืดเต้าหู้หมูสับ อาหารมื้อนี้จะได้รับสารโมเลกุลประเภทให้พลังงานกี่ชนิด อะไรบ้าง
    1. 2 ชนิด โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต
    2. 3 ชนิด ไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต
    3. 4 ชนิด ไขมัน โปรตีน กรดนิวคลิอิก และเซลลูโลส
    4. 4 ชนิด ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และกรดนิวคลิอิก
    ตอบ 2

    7.พิจารณาข้อความต่อไปนี้
    ก. การฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายเพื่อเพิ่มปริมาณกลูโคสในเส้นเลือด
    ข. อินซูลินมีหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการเปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจน
    ค. คนที่เป็นเบาหวานแสดงว่าร่างกายมีอินซูลินมากเกินไป
    ง. คนที่เป็นโรคเบาหวานควรลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
    ข้อใดถูก
    1.ก และ ข 2.ข และ ง
    3.ค และ ง 4.ข และ ค
    ตอบ 2

    8. ในการกลั่นน้ำมันดิบ ผู้ประกอบการจะใช้การกลั้นลำดับส่วนแทนที่จะใช้การกลั้นแบบธรรมดา ข้อใดคือเหตุผลหลัก
    1. ในน้ำมันดิบมีสารที่มีจุดเดือดใกล้เคียงกันจึงแยกด้วยการกลั่นแบบธรรมดาไม่ได้
    2. การกลั่นแบบธรรมดาต้องใช้เชื้อเพลิงมากกว่าการกลั่นลำดับส่วน
    3. การกลั่นแบบธรรมดาจะได้สารปรอทและโลหะหนักออกมาด้วย
    4. การกลั่นลำดับส่วนจะไม่มีเขม่าที่เกิดจากการผาไหม้ไม่สมบรูณ์
    ตอบ 1

    9. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
    ก. LPG เป็นแก๊สหุงต้มและสามารถปรับใช้แทนน้ำมันเบนซินได้
    ข. เลขออกเทนใช้บอกคุณภาพของน้ำมันเบนซิน ส่วนเลขซีเทนใช้บอกคุณภาพของน้ำมันดีเซล
    ค. แก๊สโซฮอล์เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมเมทานอล (แอลกอออล์ชนิดหนึ่ง) กับน้ำมันเบนซินในอัตราส่วน 1:9
    ง. MTBE เป็นสารที่เติมลงในน้ำมันเบนซินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผ้าไหม้และเรียกว่าน้ำมันไร้สารตะกั่ว
    ข้อใดถูก
    1. ก และ ข เท่านั้น
    2. ก และ ง
    3. ก ข และ ค
    4. ก ข และ ง
    ตอบ 4

    10.ข้อใดเป็นกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีทั้งหมด
    1. การสังเคราะห์แสงของพืช กลิ่นหอมที่เกิดจากยาดับกลิ่น
    2. การเกิดหินงอก หินย้อย การเผากระดาษ
    3. การจุดพลุดอกไม้ไฟ เมฆรวมตัวเป็นฝน
    4. การเกิดสนิมเหล็ก การสูบลมยางล้อรถยนต์
    ตอบ 2

    ตอบลบ
  13. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  14. 1.พิจารณาข้อความต่อไปนี้
        ก. ซากพืชซากสัตว์ที่ถูกกดทับอยู่ใต้เปลือกโลกทีมีอุณหภูมิและความดันสูงเป็นเวลานานจะเกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
        ข. น้ำมันดิบจะถูกกักเก็บอยู่ใต้พื้นผิวโลกในชั้นหินดินดานซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายกระทะรองรับไว้
        ค. การสำรวจแหล่งปิโตรเลียมเบื้องต้นคือการศึกษาลักษณะของหินใต้พื้นโลก
        ง. ในประเทศไทยพบว่าแหล่งผลิตแก๊สธรรมชาติและแหล่งผลิตน้ำมันดิบเป็นแหล่งเดียวกัน
    ข้อใดถูก
    1. ก และ ข                               2. ข และ ง
    3. ก และ ค                               4. ค และ ง
    ตอบ ข้อ 3.
            ข้อ ข.ผิดเพราะน้ำมันดิบจะถูกเก็บอยู่ใต้ผิวโลกในชั้นหินดินดานซึ่งลักษณะของหินจะมีด้านบนปิดกั้นป้องกันการะเหยของปิโตรเลียม
           ข้อ ง. ผิดเพราะแหล่งน้ำมันดิบและแหล่งแก๊สธรรมชาติไม่จำเป็นต้องแหล่งเดียวกัน



    2. การคัดแยกขยะออกเป็นประเภทต่างๆ จะทำให้สะดวกในการกำจัด ถ้าพบสัญลักษณ์ ♻️ ที่ถังขยะ ขยะในข้อใดควรทิ้งลงถังใบนี้
    1. พรม   เต้าเสียบไฟฟ้า   แบตเตอรี่
    2. ใบไม้   กระดาษ  เศษผ้า
    3. ถ่านไฟฉาย  เศษแก้ว   กาว
    4. ขวดพลาสติก  กระดาษ  แก้ว
    ตอบ ข้อ4. เนื่องจากสัญลักษณ์ที่โจทย์กำหนดมาให้ เป็นสัญลักษณ์วัสดุสามารถที่นำกลับมารีไซเคิลใช้งานได้ใหม่ ซึ่ง ขวดพลาสติก กระดาษ แก้ว เป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้


    3. การทดลองข้อใดที่พิสูจน์ว่านิวเคลียสในอะตอมมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดของอะตอม
    1. การยิงรังสีแคโทดไปยังแผ่นโลหะบาง ทำให้มีรังสีเอ๊กซ์เกิดขึ้น
    2. การยิงอนุภาคอัลฟา ไปยังแผ่นโลหะบางทำให้ธาตุนั้นปลดปล่อยอนุภาคที่เป็นกลางออกมา
    3. การยิงรังสีแคโทดไปยังแผ่นโลหะบางแล้วแคโทดส่วนใหญ่ถูกแผ่นโลหะดูดกลืนไว้
    4. การยิงอนุภาคอัลฟาไปยังแผ่นโลหะบางแล้วพบว่าอนุภาคส่วนใหญ่ทะลุผ่านไปได้โดยมีส่วนน้อยที่การะเจิงออกแล้วสะท้อนกลับ
    ตอบ ข้อ 4.
    จากการศึกษาของรัทเทอร์ฟอร์ดพบว่าเมื่อยิงอนุภาคอัลฟาไปยังแผ่นทองคำที่มีลักษณะบางจะเกิด3ลักษณะ
                  1. อนุภาคส่วนใหญ่จะไปกระทบฉากเรืองแสงจำนวนมากครั้งลักษณะตรงไป
                  2. อนุภาคบางส่วนจะไปกระทบฉากเรืองแสงลักษณะเบี่ยงเบนบางครั้ง
                  3. นานๆครั้งจะเกิดการสะท้อนย้อนกลับที่บริเวรด้านหน้า
    จึงสรุปได้ว่าการเกิดที่3ลักษณะอนุภาคอัลฟาจะไปกระทบนิวเคลียสที่มีขนาดเล็กมาก


    4. สารประกอบทุกตัวในข้อใดที่มีองค์ประกอบของธาตุกึ่งโลหะ
    1. แก้ว สารส้ม                  2. น้ำตาลทราย   บอแร็กซ์
    3. คอรัมดัม   ดินประสิว   4. เกลือแกง  เกลืออนามัย
    ตอบ ข้อ 1. 
    ข้อ2.ผิดเพราะน้ำตาลทรายไม่มีสารประกอบของธาตุกึ่งโลหะ
    ข้อ3.ผิดเพราะดอนประสิว ไม่มีสารประกอบของธาตุกึ่งโลหะ
    ข้อ4.ผิดเพราะเกลือแกง ไม่มีสารประกอบของธาตุกึ่งโลหะ

    ตอบลบ
  15. 5. ข้อใดเปรียบเทียบสมบัติของธาตุไม่ถูกต้อง
         1.โลหะโซเดียมมีขนาดอะตอมเล็กกว่าโลหะแมกนิเซียม
         2. โลหะโพแทสเซียมมีความว่องไวต่อปฏิกิริยาน้อยกว่าโลหะโซเดียม
         3. เกลือของโลหะโซเดียมละลายน้ำได้ดีกว่าเกลือของโลหะแมกนิเซียม
         4. สารประกอบของแมกนีเซียมเกิดปฏิกิริยาคล้ายคลึงกับสารประกอบของแคลเซียม
    ตอบ ข้อ 1 และ ข้อ 2
    ข้อ1 ผิดเพราะโซเดียมจะมีขานดอะจอมใหญ่กว่าแมกนิเซียม
    ข้อ2 ผิดเพราะโลหะโพแทสเซียมมีขนาดใหญ่กว่าโซเดียมทั้งที่อยู่หมู่เดียวกัน


    6. สารแต่ละคู่ในข้อใดต่อไปนี้ที่มีพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุลเป็นพันธะชนิดเดียวกัน
    1. เพชรแท้  ซิลิกอนบริสุทธิ์         
    2. คลอรีน  โบรมีน
    3. แก๊สออกซิเจน   แก๊สไนโตรเจน  
    4. ถ่านไม้  ถ่านแกรไฟต์
    ตอบ ข้อ 2. ถูกเพราะคลอรีน โยนมันจะเกิดโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ยึดกันไว้ด้วยพันธะเดี่ยว


    7. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
    1. สูตรโมเลกุลของไฮโดรคาร์บอน อิ่มตัวที่เล็กที่สุดมีโครงสร้างเป็นโซ่ที่มีกิ่งสาขาคือ C4H10
    2. สารไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวมีโครงสร้างเฉพาะที่เป็นโซ่ซึ่งเป็นโซ่ตรงหรือโซ่กิ่งสาขาก็ได้
    3. น้ำมันเบนซินมีต่าออกเทน91และน้ำมันแก๊สโซฮอร์91มีการเผาไหม้ที่ให้พลังงานเท่ากัน
    4. ค่าออกเทนของนอร์มอลเฮปเทนมีค่าเป็น0แสดงว่าการเผาไหม้ของนอร์มอลเฮปเทนให้พลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับโอโซออกเทนที่มีค่าเป็น100
    ตอบ ข้อ 1 ถูก
    ข้อ2 ผิดเพราะเนื่องจากไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัวจะมีโครงร่างแบบโซ่ตรงหรือโซ่กิ่งได้ต้องมีคาร์บอน4อะตอมขึ้นไปไม่ใช่ทุกตัว
    ข้อ 3 ผิดเพราะเนื่องจากน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้พลังงานน้อยกว่าน้ำมันเบนซิน
    ข้อ 4 ผิดเพราะ เนื่องจากค่าออกเทนจะบอกถึงประสิทธิภาพของการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ซึ่งค่าออกเทนสูงจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า


    8. การเผาไหม้ของเอทานอลให้พลังงานกน้อยกว่าน้ำมันเบนซินในปริมาณที่เท่ากันและเอทานอลมีค่าออกเทนสูงกว่าน้ำมันเบนซิน ถ้าใช้รถคันเดียวกันเติมน้ำมันเท่ากันแล้วขยับบนเส้นทางและสภาพถนนเดียวกันจะได้ผลตามข้อใด
    1. การใช้แก๊สโซฮอล์จะวิ่งได้ระยะทางน้อยกว่าใช้น้ำมันเบนซินแต่เครื่องยนต์ทำงานได้ดีกว่า
    2. การใช้แก๊สโซฮอล์จะวิ่งได้ระยะทางมากกว่าใช้เบนซินและเครื่องยนต์ทำงานได้ดีกว่า
    3. การใช้เบนซินหรือแก๊สโซฮอล์ได้ผลเหมือนกันทั้งระยะทางและการทำงานของเครื่องยนต์
    4. การใช้แก๊สโซฮอล์จะวิ่งได้ระยะทางน้อยกว่าใช้เบนซินส่วนเครื่องยนต์ทำงานได้เหมือนกัน
          ตอบ ข้อ 1 เพราะแก๊สโซฮอล์มีองค์ประกอบจะให้พลังงานจากการเผาไหม้ได้น้อยกว่าน้ำมันเบนซินทำให้มีการสิ้นเปลืองมากกว่าจะวิ่งได้ระยะทางน้อยกว่าการใช้เบนซินในปริมาณเท่ากันแต่แก๊สโซฮอล์จะมีค่าสูงกว่าทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ดีกว่า



    9. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
    1. ไกลโคเจนไม่ละลายน้ำแต่เซลลูโลสละลายน้ำได้เล็กน้อย
    2. มอบเทศเป็นเอ็นไซม์ที่สลายน้ำตาลมอบเทศให้เป็นกลูโคสและฟรักโทส
    3. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชั่นของกลูโคสที่ทำให้เกิดไกลโคเจนจะทำให้มีน้ำหนักเกิดขึ้นด้วย
    4. ฟรักโทสและไรโบสมีสูตรโมเลกุลเหมือนกันและมีโครงสร้างเป็นวงขนาด5อะตอมเหมือนกัน
    ตอบ  ข้อ 3 ถูก
    ข้อ1 ผิดเพราะไกลโคเจนละลายน้ำส่วนเซลลูโลสไม่ละลายน้ำ
    ข้อ2 ผิดเพราะมอบเทศเป็นเอ็นไซม์ที่ละลายน้ำตาล มอลโทสให้เป็นกลูโคส2โมเลกุล
    ข้อ4 ผิดเพราะฟรักโทสมีคาร์บอน 6อะตอมส่วน         ไรโบสมีคาร์บอน5อะตอม



    10.  ข้อใดเรียงสารผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมจากจุดเดือดสูงไปต่ำได้ถูกต้อง
    1. บิทูเมน  เนฟทา  น้ำมันก๊าซ  ก๊าซปิโตรเลียม
    2. น้ำมันก๊าซ   ดีเซล  เบนซิน  ก๊าซปิโตรเลียม
    3. บิทูเมน  ไข  ดีเซล  เนฟทา 
    4. น้ำมันเตา  ดีเซล  น้ำมันหล่อลื่น  แนฟทา
    ตอบ ข้อ 3 เรียงได้ถูกต้องจากจุดเดือดสูงไปต่ำคือ      บิทูเมน ➡️ ไข ➡️ ดีเซล ➡️เนฟทา

    ตอบลบ
  16. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  17. นางสาววารัตดา ธนบัตร เลขที่29ม.6/1
    1)ในการปรุงอาหารให้แก่ผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดใด เพราะเหตุใด
    1 น้ำมันถั่วเหลืองเพราะมีโปรตีนมากเกินไป
    2 น้ำมันรำ เพราะมีกลิ่นเหม็นหืนง่าย
    3 น้ำมันมะพร้าว เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวมาก
    4น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เพราะมีกรดไขมันที่จำเป็นมาก
    ตอบ 3.
    2)ข้อใดไม่ถูกต้อง
    1.กรดไลโนเรอิก เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
    2.ถ้าเด็กทารกขาดกรดไลโนเรอิก จะมีผิวหนังแห้ง อักเสบ หลุดออก
    3.ไขมันเมื่อต้มกับเบสจะเกิดปฏิกริยาสะปอนนิฟิเคชัน
    4.คอเลสเทอรอลไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้เส้นเลือดอุดตัน
    ตอบ 4. เพราะคอเรสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันกลุ่มหนึ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์ ซึ่งจะใช้ช่วยให้ ร่างกายของคนเราสร้างฮอร์โมน วิตามินดี และ สร้างน้ำดีเพื่อย่อยสลายไขมันที่เราทานเข้าไป
    3)ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของโปรตีน
    1.รักษาสมดุลของน้ำและกรด-เบส
    2.เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ทุกชนิด
    3.สร้างอิมมูโนโกลบูลิน
    4.ช่วยละลายวิตามิน A D E K
    ตอบ 4.
    4)ในการกลั่นน้ำมันดิบ น้ำมันเบนซินจะออกมาทางด้านส่วนบนของหอกลั่นส่วนน้ำมันดีเซล
    จะออกมาทางด้านส่วนล่างข้อความใดกล่าวถูกต้อง
    1 น้ำมันเบนซินและน้ำ มันดีเซลมีจุดเดือดเท่ากันเพราะนำ ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้เหมือน
    2 จุดเดือดไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งของกสรกลั่นตัวจึงสรุปไม่ได้
    3 น้ำมันเบนซินมีจำนวนคาร์บอนมากกว่าน้ำมันดีเซล
    4 น้ำมันเบนซินมีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมันดีเซล
    5 น้ำมันเบนซินมีจุดเดือดต่ำ กว่าน้ำมันดีเซล
    ตอบ 5 เพราะการกลั่นน้ำมันดิบใช้วิธีการกลั่นลำดับส่วน ซึ่งเป็นการแยกสารโดยอาศัยความแตกต่างของ
    จุดเดือดของสารแต่ละชนิด
    5)ข้อใดไม่ได้แสดงว่าธรรมชาติของสารมีผลิตอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
    1. เกลือเม็ดดูดความชื้นเร็วกว่าผลึกนํ้าตาลทราย
    2. กระดาษมีอายุการใช้งานน้อยกว่าพลาสติก
    3. แบตเตอรีปรอท กับแบตเตอรีอัลคาไลน์มีอายุใช้งานไม่เท่ากัน
    4. เหล็กที่อยู่ในอากาศและความชื้นจะผุกร่อนได้เร็วกว่าอะลูมิเนียม
    ตอบ 4.

    ตอบลบ
  18. นางสาววารัตดา ธนบัตร เลขที่29ม.6/1
    6) ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารที่อุณหภูมิห้อง
    1 แนฟทำลีนระเหิดได้เพราะมีแรงดึดดูดระหว่างโมเลกุลน้อย
    2 การเปลี่ยนเป็นไอของโลหะปรอท จัดอยู่ในประเภทการรระเหิด
    3 น้ำแข็งไม่เกิดการระเหิดเพราะโมเลกุลมีพันธะไฮโดรเจนระหว่างกัน
    4 ควันที่เกิดจากน้ำแข็งแห้งตั้งทิ้งไว้ประกอบด้วยไอน้ำ กับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
    5 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของของเหลวกับอุณหภูมิของของเหลว มีผลต่อความดันไอของของเหลว
    ตอบ 2 การระเหิดเป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นไอโดยไม่ผ่านสถานะของเหลวเกิดจากการที่อนุภาคที่ผิวหน้าของของแข็งบางอนุภาคมีพลังงานสูงพอที่จะสามารถชนะแรงยึดเหนี่ยวระหว่าโมเลกุลในของแข็งหลุดออกไปในสถานะแก๊สได้
    7)ไขมันหรือน้ำมันในข้อใด มีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวมากที่สุด
    1 .ไขวัว มีไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ 38
    2 น้ำมันมะกอก มีไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ82
    3 น้ำมันถั่วลิสง มีไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ87
    4 น้ำมันข้าวโพด มีไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ 120
    5 น้ำมันดออกคำ ฝอย มีไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ 131
    ตอบ 5 เพราะไขมันหรือน้ำมันที่มีค่าไอโอดีนนัมเบอร์สูงแสดงว่าไขมันหรือน้ำ มันนั้นมีความไม่อิ่มตัวสูง นั่นคือ มีปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัวมาก
    8)แก๊สหุงต้มเป็นแก๊สที่ไม่มีสีไม่มีกลิ่น สารในข้อใดใช้เติมให้แก๊สมีกลิ่น เพื่อให้ทราบได้ในเวลาที่เกิดการรั่วไหลของแก๊ส
    1 เมทิล เทอร์เทียรี บิวทิล อีเธอร์ (MTBE)
    2 เตตระเอทิลเลด
    3 เมอแคบแตน
    4 เอทานอล
    5 เมทานอล
    ตอบ 3 เพราะสสรประกอบเมอแคบแตน ใช้เป็นสารเติมกลิ่นในแก๊สหุงต้ม
    เมทิล เทอร์เทียรี บิวทิล อีเธอร์ (MTBE) ใช้ทดแทนสารตะกั่วในน้ำ มันเบนซิน
    เพื่อช่วยให้การเผาไหม้ด้ีข้ึน
    เตตระเอทิลเลดใช้เติมในน้ำ มันเบนซิน เพื่อเป็นการเพิ่มค่าออกเทน ทำ ให้เชื้อเพลิงเผาไหม้ได้ดี เอทานอลเป็นของเหลวไม่มีสีระเหยได้ไวไฟสูง เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมัก
    พืชผลทางการเกษตร สามารถนำ มาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
    เมทานอลเป็นของเหลวใส ระเหยง่ายยเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการกลั่นปิโตรเลียมสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในธรรมชาติ
    9)น้ำส้มสายชูลงในโซดาอบขนมปังพบว่าโซดาอบขนมปังละลายและมีแก๊สคำร์บอนไดออกไซด์
    ออกมาข้อมูลในข้อใดไม่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
    1 ใช้น้ำส้มสายชูที่ผลิตจากพืชแทนน้ำ ส้มสายชูที่ผลิตจากกรดแร่
    2 แช่น้ำ ส้มสายชูใหเ้ย็นก่อนที่จะผสมกับโซดาอบขนมปัง
    3 ใช้น้ำส้มสายชูบริสุทธ์ิแทนน้ำ ส้มสายชูที่เจือจาง
    4 บดโซดาอบขนมปังก่อนที่จะเติมน้ำ ส้มสายชู
    5 ใช้น้ำส้มสายชูให้มีปริมาตรมากข้ึน 2 เท่า
    ตอบ 5เพราะ ปริมาตรไม่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
    ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาได้แก่ธรรมชาตติของสารตั้งต้น
    ความเข้มข้นของสารตั้งต้น อุณหภูมิ พื้นที่ผิว ความดัน ตัวเร่งปฏิกิริยา
    และปัจจัยอื่น ๆ เช่น การทุบ การรกวน การคน
    10)ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้อง
    1 ฝ้ายเป็นเส้นใยเซลลูโลสที่พบในธรรมชาติ
    2 พอลิไวนิลแอซีเตตเป็นพลาสติกประเภทเทอร์มอพลาสติก
    3 พอลิไวนิลคลอไรด์เกิดจากปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเติม
    4 พอลิสไตรีนมีโครงสร้างเป็นแบบอสัณฐาน มีสมบัติแข็งแต่เปราะ
    5 พอลิเอทิลีนเป็นพอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างแบบร่างแห ไม่สามารถนำ มารีรีไซเคิลได้
    ตอบ 5 เพราะ
    พอลิเอทิลีนเป็นพอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างแบบเส้นหรือแบบกิ่ง
    เป็นพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้

    ตอบลบ
  19. นางสาวพัชราภรณ์ มัดซา เลขที่20ม.6/1
    1.แหล่งน้ำในข้อใดต่อไปนี้ทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตได้ดีที่สุด
    1.น้ำฝน
    2.น้ำบาดาล
    3.น้ำทิ้งจากเมือง
    4.น้ำทิ้งจากโรงงาน
    5.น้ำทิ้งจากบ้านเรือน
    ตอบข้อ5น้ำทิ้งจากบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นน้ำที่เหลือทิ้งจากการซักผ้าซึ่งมีปริมาณฟอสเฟตจากผงซักฟอกในบริมาณที่สูงฟอสเฟตเหล่านี้เป็นอาหารที่ดีต่อการเจริญเติบโตของน้ำพืชน้ำ ทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นสาเหตุที่สำคัญสาเหตุหนึ่งของการเกิดน้ำเสียได้
    2.เมื่อตรวจวิเคราะห์หาค่า BOD ในน้ำทิ้งจากโรงงานกระสอบและโรงงานซีอิ๊ว พบว่ามีค่า BOD เป็น 68 และ 580 mg/dm3 ตามลำดับ ค่า BOD ทำให้ทราบว่าน้ำทิ้งจากโรงงานกระสอบเป็นอย่างไร
    1.มีคุณภาพน้ำดีกว่า
    2.มีสารเคมีเจือปนอยู่มากกว่า
    3.มีโลหะหนักเจือปนอยู่มากกว่า
    4.มีออกซิเจนละลายอยู่มากกว่า
    5.มีสารอินทรีย์เจือปนอยู่มากกว่า
    ตอบ ข้อ 5 เพราะ บีโอดี เป็นปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายสานอินทรีย์ในน้ำ น้ำที่มีคุณภาพมีควรมีค่า BOD ไม่เกิน 6 มิลลิกรัม/ลิตร พระราชบัญญัติน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้ว่า น้ำทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ต้องมีค่า BOD ไม่เกิน 20-60 มิลลิกรัม/ลิตร ขึ้นกับแหล่งรองรับน้ำทิ้ง
    3.พอลิเมอร์ x มีลักษณะดังนี้
    1.เป็นพอลิเมอร์ชนิดเทอร์มอพลาสติก
    2.แข็ง เหนียว ทนต่อความชื้น และสารเคมี
    3.เมื่อเกิดการเผาไหม้จะเกิดแก๊สที่มีผลระคายเคืองต่อระบบหายใจและสารละลายของแก๊สนี้เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
    ข้อใดน่าจะเป็นพอลิเมอร์ x
    1.พอลิสไตรีน
    2.พอลิอะคริโลไนไตร์
    3.พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต
    4.พอลิฟินอลฟอร์มาลดีไฮด์
    5.พอลิเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์
    ตอบ2เพราะพอลิอะคริโลไนไตรล์ เป็นเทอร์มอลาสติก สามารถเตรียมได้จากปฏิกิริยาการเกิดพอลิเมอร์แบบเติม มีความแข็งแรง เหนียวทนต่อความชื้นสารเคมีและเชื้อราเมื่อเกิดการเผาไหม้จะได้HCNซึ่งมีสมบัติเป็นกรดทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจได้
    4. ข้อใดเรียงลำดับการกำเนิดถ่านหินได้ถูกต้อง
    1.พีท ลิกไนต์ บิทูมินัส แอนทราไซต์
    2.แอนทราไซต์ ลิกไนต์ บิทูมินัส พีท
    3.บิทูมินัส ลิกไนต์ แอนทราไซต์ พีท
    4.ลิกไนต์ พีท บิทูมินัส แอนทราไซต์
    5.พีท บิทูมินัส ลิกไนต์ แอนทราไซต์
    ตอบ 1 เพราะ ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นก้อนแข็งแต่เปราะมีสีน้ำตาลหรือสีดำมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ คาร์บอน และธาตุอื่น เช่น ไฮโดรเจน กำมะถันออกซิเจนและไนโตรเจนถ่านหินเกิดจากซากพืชในชุ่มน้ำทับถมกันเป็นระยะเวลานานเปลี่ยนสภาพกลายเป็นพีท การเกิดถ่านหินแต่ละชนิดเมื่อเวลาผ่านไปนี้จะได้ถ่านหินแข็งและมีผิวมันการเกิดถ่านหินแต่ละชนิดเมื่อเวลาผ่านไปนี้จะได้ถ่านหินที่มีคุณภาพและให้ความร้อนมากขึ้น
    5.ไอโซเมอร์แบบซิสและแบบทรานส์จัดอยู่ไอโซเมอร์ประเภทใด
    1.ไอโซเมอร์เชิงเรขาคณิต
    2.ไอโซเมอร์เชิงแสง
    3.ไอโซเมอร์เชิงสายโซ่คาร์บอน
    4.ไอโซเมอร์เชิงชนิดของหมู่ฟังก์ชัน
    5.ไอโซเมอร์เชิงตำแหน่งของหมู่ฟังก์ชัน
    ตอบ 1 เพราะ ไฮโซเมอร์เชิงเรขาคณิต หรือเรียกว่า ไอโซเมอร์แบบซิส-ทรานส์ เป็นไอโซเมอร์ที่มีการจดเรียงตัวอะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่แต่ละด้านของพันธะคู่อยู่ในระนาบที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น ซิส-2-บิวทีน และ ทรานส์-2-บิวทีน


    ตอบลบ
  20. นางสาวพัชราภรณ์ มัดซา เลขที่20 ม.6/1
    6. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวเกี่ยวกับพอลิเมอร์ผิด
    1.โคพอลิเมอร์อาจเกิดจากมอนอเมอร์ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันได้มาเชื่อต่อกัน
    2.มอนอเมอร์ที่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนจะเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซซันแบบเดิม
    3.มอนอเมอร์ต้องมีหมู่ฟังก์ชันมากกว่าหนึ่งหมู่จึงจะเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซซันแบบควบแน่นได้
    4.ยางพารามีโครงสร้างเป็นซิส-พอลิไอโซพรีน ส่วนยางกัตตาเป็นทรานส์-พอลิไอโซพรีน
    5.เทอร์มอพลาสติกเป็นพอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างแบบเส้นหรือแบบกิ่ง ส่วนพลาสติกเทอร์เซตมีโครงสร้างแบบร่างแห
    ตอบ 1.เพราะ โคพอลิเมอร์ เกิดจากมอนอเมอร์ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาเชื่อต่อกัน
    7. พิจารณาข้อความต่อไปนี้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
    1.ไกลโคเจนเป็นพอลิเมอร์เอกพันธุ์
    2.ไบโอดีเซลผลิตจากน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ก็ได้
    3.อิพอกซีเรซินเป็นผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชั้นกลาง
    4.ปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชันเป็นสาเหตุให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง
    5.กระบวนการรีฟอร์มมิงทำให้เกิดสารไฮโดรคาร์บอนโซ่กิ่งหรือไฮโดรคาร์บอนชนิดอะโรมาติกขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสารตั้งต้น
    ตอบ 3 เพราะ อิพอกซีเรซิน อยู่ในกลุ่มพลาสติกเรซันที่พร้อมนำไปผลิตเป็นพลาสติกในอุตสหกรรมต่อเนื่อง จัดเป็นผลิตภัณฑ์จากอุตสหกรรมปิโตรเลียมเคมีชั้นปลาย
    8. เมื่อเติมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักแป้งด้วยยีสต์ลงในสารใดจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
    1.น้ำหวาน
    2.น้ำแป้ง
    3.น้ำปลา
    4.น้ำผึ้ง
    5.น้ำส้ม
    ตอบ 3 เพราะ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักแป้งด้วยยีสต์ คือ เอทานอล เมื่อเติมเอทานอลลงในน้ำปลาจะทำให้เกิดการแปลงสภาพของโปรตีนในน้ำปลา ส่งผลให้น้ำปลาเกิดตะกอนขึ้น
    9. เลซิทินเป็นฟอสโฟลิฟิดที่ทำหน้าที่ช่วยละลายไขมันในกระแสเลือดให้แตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ การทำหน้าที่ของเลซิทินคล้ายคลึงกับสมบัติของสารใด
    1.กรดนิวคลีอิก
    2.เพนโทส
    3.เอนไซม์
    4.สบู่
    5.สเตอรอยด์
    ตอบ 4 เพราะ เลซิทิน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ฟอสฟาทิดิลคอลีน ซึ่งเป็นฟอสโฟลิพิดที่สำคัญชนิดหนึ่ง พบมากในไข่แดง ถั่วเหลือง นม เมล็ดฝ้าย แลธฌมล็ดทานตะวัน มีสมบัติเป็นสารอิมัลซิฟายเออร์ คล้ายสบู่ จึงสามารถละลายคอเลสเทอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมันชนิดอื่นๆ ในหลอดเลือดได้ดี ช่วยลดโอกาสการเกิดถาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดลงได้
    10. พิจารณาสารต่อไปนี้
    ก.คอลลาเจน
    ข.ไอโซลิวซีน
    ค.ไกลซิลฟีนิลอะลานีน
    ง.อะลานิลเวลิลเมไทโอนีน
    สารในข้อใดเกิดสีน้ำเงินม่วงเมื่อทดสอบด้วยวิธีไบยูเรต
    1. ก และ ข
    2. ก และ ง
    3. ข และ ค
    4. ข และ ง
    5. ค และ ง
    ตอบ 2 เพราะ การทดสอบด้วยวิธีไบยูเรต ใช้ในการทดสอบ โปรตีน เกิดสารเชิงซ้อนที่มีสีม่วงหรือสีชมพูอมม่วงขึ้น โดยสารนั้นจะต้องมีสายเพปไทด์ที่เป็น ไตรเพปไทด์ ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 หน่วย เป็นอย่างน้อย หรือมีพันธะเพฟไทด์ตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป จึงจะเกิดขึ้นสีน้ำเงินม่วงได้อย่างชัดเจน

    ตอบลบ
  21. นางสาวบุษยมาศ สิงห์ภา เลขที่25 ม.ุ6/1
    1.ส่วนผสมของน้ำสลัดโดยทั่วไปจะมีน้ำมันพืช น้ำส้มสายชู ไข่แดง และเครื่องปรุงรส สารใดในส่วนประกอบดังกล่าวนี้ทำให้ส่วนผสมของน้ำสลัดผสมเข้ากันได้ดี
    1. โปรตีน
    2. กรดน้ำส้ม
    3. ฟอสโฟลิพิด
    4. คอเลสเทอรอล
    5. ไตรกลีเซฮไรด์
    ตอบ 3. เพราะ ในไข่แดงมีฟอสโฟลิพิดที่สำคัญ คือ ฟอสฟาทิดิลคอลีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในเลซิทิน อิมัลซิฟายเออร์ ทำให้ส่วนผสมที่เป็นน้ำและไขมันสามารถละลายเข้ากันได้
    2. สารในข้อใดต่อไปนี้มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคเป็นแรงลอนดอนเท่านั้น
    1. เกลือแกง
    2. แท่งเหล็ก
    3. น้ำแข็งแห้ง
    4. ไส้ดินสอ
    5. เอทานอล
    ตอบ 3 น้ำแข็งแห้ง เป็นผลึกโมเลกุล ชนิดไม่มีขั้ว ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงลอนดอน
    3. เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่ว ข้อสรุปใดถูกต้อง
    1. เป็นเซลล์ปฐมภูมิ
    2. ตะกั่วเป็นขั้วแอโนด
    3. สามารถประจุไฟใหม่ได้เรื่อยๆ
    4. ขั้วไฟฟ้าจุ่มในสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์
    5. แก๊สไฮโดรเจนเป็นผลิตภัณฑ์ทั้งครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชันและรีดักชัน
    ตอบ 2 เซลล์สะสมไฟฟ้าแบบตะกั่วเป็นท้งขั้วแอโนดและขั้วแคโทด
    4.ผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่สำคัญจากกระบวนการผลิตผงชูรสคือข้อใด
    1.กรดกลูตามิก
    2.ปู๋ยฟอสเฟต
    3.โซเดียมคลอไรด์
    4.ปุ๋ยแอมโมเนียคลอไรด์
    5.โซเดียมไฮโดณเจนคาร์บอเนต
    ตอบ 4. ผงชูรส หรือโมโนโซเดียมกลูตาเนต เป็นเกลือของกรดกลูตามิกซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง
    5.ดอกไฮเดรนเยียเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มี PH อยู่ระหว่าง 4.5 ถึง 5.0 ไฮเดรนเยียน่าจะเหมาะกับปุ๋ยชนิดใด
    1.ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรต
    2. ปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต
    3.ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต
    4.ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์
    5.ปุ๋ยโซเดียมไนเตรต
    ตอบ 1.ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรต เป็นเบส
    2. ปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต เป็นกลาง
    3. ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต เป็นกรด
    4.ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ เป็นกลาง
    5.ปุ๋ยโซเดียมไนเตรต เป็นเบส
    6. พันธะระหว่างคาร์บอนในสารใดแข็งแรงที่สุด
    1. แอลเคน
    2. แอลคีน
    3. แอลไคน์
    4. แอลดีไฮด์
    5. แอลกอฮอล์
    ตอบ 3 เพราะ แอลไคน์เป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะระหว่างคาร์บอนอย่างน้อยหนึ่งพันธะเป็นพันธะสามจึงมีความแข็งแรงที่สุด ส่วนสารอื่นอีก 4 ขนิด มีพันธะระหว่างคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยว
    7. ข้อใดไม่ใช่สารที่ใช้เติมลงในน้ำมันเบนซินเพื่อเพิ่มค่าออกเทน
    1. เอทานอล
    2. เตตระเมทิลเลด
    3. แอลฟาเมทิลแนฟทาลีน
    4. เอทิลเทอร์เชียรีบิวทิลอีเทอร์
    5. เมทิลเทอร์เชียรีบิวทิลอีเทอร์
    ตอบ 3 เพราะ ค่าออกเทน เป็นค่าที่บอกอัตราส่วนกำลังอัดของน้ำมันที่ทนได้ก่อนการจุดระเบิด ค่าออกเทนสูงจะช่วยป้องกันการชิงจุดระเบิดของเครื่องยนต์ทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ
    8. กรดอะมิโนข้อใดเป็นกรดอะมิโนจำเป็น
    1. อะลานีน ทรีโอนีน ไทโรซีน
    2. ลิวซีน ทรีโอนีน วาลีน
    3. ไลซีน ไกลซีน กลูตามีน
    4. ฮีสติดีน กรดแอสปาร์ติก อาร์จินีน
    5. โปรลีน ซีสเตอีน ไอโซลิวซีน
    ตอบ 2 เพราะ กรดอะมิโนจำเป็น เป้นกระอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นต้องรับจากภายนอกเข้ามา มีอยู่ 10 ชนิด แบ่งเป็นที่จำเป็นต้องได้รับทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ 8 ชนิด ได้แก่ ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมไทโอนีน ฟินิลอะลานีน ทรีโอนีน ทริปโตเฟน และวาลีน ส่วนอีกสองชนิดจำเป็นสำหรับเด็กเท่านั้น ประกอบด้วย อาร์จีนีน และฮีสติดีน
    9.เตตระเพปไทด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนแต่ละชนิดเหมือนกันจะมีโครงสร้างปฐมภูมิที่เป็นไปได้กี่แบบ
    1. 3
    2. 4
    3. 12
    4. 16
    5. 24
    ตอบ 5 เพราะ เตตระเพปไทด์ ประกอบด้วยกระอะมิโน 4 หน่วย มีจำนวนโครงสร้างปฐมภูมิที่เป็นไปได้เท่ากับ 4!=4 A 3 A 2 A 1= 24 แบบ
    10.โครงสร้างผลึกของสารประกอบไอออนิกชนิดหนึ่งประกอบด้วยไอออนบวก A และไอออนลบ B โดย A แต่ละไอออน มี B แต่ละไอออน มี A ล้อมรอบ 2 ไอออน
    ประจุของ A และ B เป็นไปตามข้อใด ตามลำดับ
    1. +1 -1
    2. +1 -2
    3. +2 -4
    4. +3 -2
    5. +4 -2
    ตอบ 5 วิธีทำ สารประกอบระหว่าง A และ B นั่นคือ A4+ ส่วนอยู่ B อยู่ ในรูปไอออน B2- ดังนั้น A มีประจุเท่ากับ +4 และ B มีประจุเท่ากับ -2

    ตอบลบ
  22. 6)เมื่อนายสุรชัยลองทำสบู่จากไขสัตว์ผสมกับน้ำมันถั่วเหลือง สัดส่วนของไขสัตว์ต่อน้ำมันถั่วเหลืองในข้อใดจะให้สบู่ที่แข็งที่สุด
    ก.1 : 1
    ข.1 : 2
    ค.2 : 1
    ง.2 : 3
    ตอบ ค.สบู่ที่เตรียมได้จากไขสัตว์จะมีลักษณะค่อนข้างแข็งกว่าสบู่ที่เตรียมได้จากน้ำมันพืช ในอุตสาหกรรมทำสบู่จึงนิยมใช้น้ำมันหรือไขมันจากพืชและสัตว์ผสมกัน เพื่อให้ได้สบู่ที่มีเนื้อนุ่มและน่าใช้ นายสุชัยทดลองทำสบู่จากไขสัตว์ผสมกับน้ำมันถั่วเหลือง สบู่ที่แข็งที่สุดจะต้องมีอัตราส่วนของไขสัตว์ในสบู่มากที่สุดด้วย เมื่อพิจารณาสัดส่วนของไขสัตว์ : น้ำมันถั่วเหลือง ในสบู่ของแต่ละตัวเลือกได้ดังนี้ 1. ไขสัตว์ : น้ำมันถั่วเหลือง = 1 : 1 2. ไขสัตว์ : น้ำมันถั่วเหลือง = 1 : 2 = 0.5 : 1 3. ไขสัตว์ : น้ำมันถั่วเหลือง = 2 : 1 4. ไขสัตว์ : น้ำมันถั่วเหลือง = 2 : 3 = 0.67 : 1 สบู่ที่แข็งที่สุดคือ สบู่ในข้อ 3 ที่มีอัตราส่วนของไขสัตว์ : น้ำมันถั่วเหลืองเป็น 2 : 1

    7)สารชีวโมเลกุลชนิดใดมีมากที่สุดของน้ำหนักแห้งในร่างกายคน
    ก.ไขมัน
    ข.โปรตีน
    ค.คาร์ไบไฮเดรต
    ง.กรดนิวคลีอิก
    ตอบ ข.โปรตีน เป็นสารที่พบมากที่สุดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
    8)ในการปรุงอาหารให้แก่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดใด เพราะเหตุใด
    ก.น้ำมันถั่วเหลือง เพราะมีโปรตีนมากเกินไป
    ข.น้ำมันรำ เพราะเกิดกลิ่นเหม็นหืนง่าย
    ค.น้ำมันมะพร้าว เพราะมีกรดไขมันอิ่มตัวมาก
    ง.น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เพราะมีกรดไขมันที่จำเป็นมาก
    ตอบ ค.หลีกเลี่ยงน้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหารกะทิซึ่งเป็นน้ำมันจากมะพร้าว


    9)กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับทารกคือข้อใด
    ก.อาร์จินีน และฮีสติดีน
    ข.ทริปโตเฟนและเมไทโอนีน
    ค.ไลซีนและลิวซีน
    ง.ไอโซลิวซีนและเวลีน
    ตอบ ก.เพราะ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีความจำเป็นสำหรับทารก
    10)ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก ( DNA)
    ก.น้ำตาลไรโบส
    ข.อะดีนีน
    ค.หมู่ฟอสเฟต
    ง.กรดไรโบนิวคลิอิก (RNA)
    ตอบ ข.อะดีนีน








    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น